เอ็นพีเอการบัญชี

เจริญมรณัสสติอย่างไร


เจริญมรณัสสติอย่างไร

ปัญหา ทางพระพุทธศาสนาสนให้หมั่นเจริญมรณัสสติ คือ การระลึกถึงความตายเพื่อความไม่ประมาท อยากทราบว่าจะเจริญมรณัสสติโดยวิธีใด?

พุทธดำรัสตอบ “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง (อาจจะมีชีวิตอยู่เพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเท่านั้น) (หรือ)... เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำข้าวสี่ห้าคำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้ประมาท เจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายช้า
“ส่วนภิกษุใด ย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำกลืนกิน (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แรงกล้า...เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

“......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อมดี.... เสมหะ... หรือลมที่มีพิษเพียงดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น.... ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละ (ตาย) ในกลางคืนมีอยู่หรือหน ถ้าภิกษุพิจาณาอยู่ย่อมราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปเพียรความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีปริมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปกุศลนั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะ ถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ.... เมื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น.... ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล... ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด...ฯ”

มรณัสสติสูตร ที่ ๑ ฉ. อํ. (๒๙๐)
ตบ. ๒๒ : ๓๓๘-๓๔๑ ตท. ๒๒ : ๓๑๕-๓๑๘
ตอ. G.S. III : ๒๑๗-๒๑๙

มรณัสสติสูตร ที่ ๒ ฉ. อํ. (๒๙๑)