เอ็นพีเอการบัญชี

ธรรมที่เป็นใหญ่


ธรรมที่เป็นใหญ่

อินทรีย์คือความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนซึ่งมีอยู่ 5 ประการ
1. ศรัทธา คือความเชื่อ ในการดำเนินไปของการทำสมาธิ สิ่งแรกเราต้องมีความเชื่อหรือศรัทธาในพระพุทธศาสนา เราต้องมีความเชื่อว่ากรรมมีจริง ซึ่งเป็นผลให้ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราทั้งในอดีตและปัจจุบัน เราต้องมีความเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าเป็นจริง และเมื่อเราปฏิบัติตามก็จะทำให้เราลดความทุกข์ และที่สุดก็หมดทุกข์ได้ นอกจากความเชื่อในพุทธศาสนาว่ามีจริงแล้ว เรายังต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในใพระอาจารย์ ผู้สอนพระกัมมัฏฐานให้ ว่าท่านเป็นผู้ชำนาญทางนี้โดยแน่แท้ และถูกต้อง ในแนวทางการสอนของท่านที่จะแนะนำให้เราพบความสำเร็จได้ในการทำสมาธิ

2. วิริยะ คือความเพียร เพียรในการปฏิบัติสมาธิ เพียรในการเดินจงกรม เพียรในการสวดมนต์ภาวนา ละความชั่วและทำในความดี การทำสมาธิเป็นหนทางยาวไกลที่ต้องทำทุกวันเพื่อเก็บสะสมพลังจิตจนถึงระดับ เพียงพอที่จะนำมาใช้งานได้ ณ จุดนี้เราต้องเชื่อว่าเราได้สะสมมาบ้างแล้วจากอดีต แต่เราต้องไม่ท้อแท้ ที่จะทำต่อไป และเราต้องคิดว่าเราใกล้ความสำเร็จไปแล้วทุกวันหากเราทำต่อเนื่องอย่างสม่ำ เสมอ

3. สติ คือความระลึกรู้ สติเป็นธรรมที่รักษาสมาธิที่เราทำมา ให้เป็นตัวรู้ ว่าใครคือผู้รู้ เมื่อมีผู้รู้ เราก็จะเป็นผู้สามารถบัญชาการให้จิตไปทำงานเพื่อประโยชน์ของเรา การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จึงเป็นการฝึกสติให้เข้มแข็งขึ้น

4. สมาธิ คือความตั้งมั่นในอารมณ์ มีความเป็นหนึ่ง ที่เราสามารถที่จะรวมกำลังสมาธิ เพื่อการใช้งานต่างๆได้ ในการสร้างฌาน สร้างญานความรู้ต่าง ๆ ได้

5. ปัญญา คือความรู้ ที่เกิดจากที่สมาธิและสติ เมื่อมีพอเพียง ปัญญาก็จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญญาที่จะใช้ในการงาน ในโครงการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และในที่สุดเราจะเกิดปัญญาในไตรลักษณ์ หรือรู้เห็นว่าธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งว่าไม่เที่ยง เป็น อนิจจัง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ที่ไม่สามารถที่จะบังคับให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้